วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร



     อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกตอนใต้ริมป้อมเพชร เดิมชื่อวัดทอง เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างไว้ครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์จักรี ได้ทรงสร้างเพิ่มเติมและปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องกันมา เกือบทุกรัชกาล ผนังภายในพระอุโบสถตอนบน มีภาพเขียนเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนเรื่อง เวสสันดรชาดก เตมีย์ชาดกและสุวรรณสามชาดก ตอนหน้าสุดเขียนภาพมารวิชัย พระวิหาร มีรูปเขียนแสดงพระราชวีรกรรม ของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ซึ่งเป็นต้นแบบลอกแพร่หลายออกไปหลายแห่ง


วัดภูเขาทอง



     ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร (ทางเดียวกันกับ เส้นทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309) จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดภูเขาทอง วัดภูเขาทองนี้ หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวร ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1930 เมื่อบุเรงนองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2112 ได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองขึ้นไว้เป็นที่ระลึก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ซ่อมองค์พระเจดีย์ตอนบนเป็นแบบไทยพร้อมๆกันกับการ บูรณะวัด ขณะนี้จึงปรากฏว่าฝีมือช่างมอญเดิมเหลือเพียงฐานทักษิณ สูงขึ้นไปเป็นพระเจดีย์ย่อ ไม้สิบสองฝีมือช่างไทย


วัดใหญ่ชัยมงคล



     (วัดเจ้าพระยาไท หรือ วัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ถ้ามาจากตัวเมืองข้าม สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยกเลี้ยวขวาไป ไม่ไกลก็จะเห็นป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซีย เลี้ยวเข้าแยกอยุธยาแล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลางถนนก็เลี้ยวซ้าย วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท" ในการสร้างวัด ป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับพระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเสริมพระเจดีย์ให้ใหญ่และสูงขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติเมื่อคราว ทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ่ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย แล้วเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้





Page 1 | 2 | 3
การแต่งกายสมัยอยุธยา | ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา