ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา

     วัฒนธรรมอยุธยา อาณาจักรอยุธยาได้สร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมมากมายหลายด้าน ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย ผลงานที่สำคัญ เช่น ด้านสถาปัตยกรรมที่สำคัญได้แก่ ที่อยู่อาศัย ซึ่งลักษณะการสร้างบ้านเรือนในสมัยนี้มี 2 แบบ คือ แบบเรือนเครื่องผูกหรือกระท่อม กับแบบเรือนเครื่องสับหรือเรือนที่ปลูกสร้างด้วยไม้ นอกจากนี้ก็มีการสร้างวัด ภายในวัดจะสร้างพระเจดีย์รูปทรงกรวยสี่เหลี่ยมย่อมุมตรงเหลี่ยมเรียกว่า เจดีย์ย่อมุมไม้ 12 สร้างวิหาร สร้างอุโบสถ ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสำริด ด้านจิตรกรรม ส่วนใหญ่เน้นเรื่องพระพุทธประวัติ โดยเฉพาะ ทศชาติ ด้านศิลป์และดนตรี เป็นศิลปะที่เฟื่องฟูมากในสมัยอยุธยาที่สำคัญ ได้แก่ หนังใหญ่ หนังตะลุง โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน หุ่น ด้านวรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โองการแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ กาพย์มหาชาติ นิราศพระบาท เป็นต้น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคทองทางวรรณกรรม


ศิลปะอยุธยาตอนต้น
     อาณาจักรอยุธยาถูกสถาปนาขึ้น โดยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ซึ่งเสด็จมาจากที่อื่น พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่าพระองค์เสด็จมา จากเมืองเทพนคร ซึ่งอยู่ใต้เมือง ไตรยตรึงส์ ใกล้กับกำแพงเพชร พระองค์ตั้งพระตำหนักครั้งแรกที่ ตำบลเวียงเหล็ก ภายในอาณาเขตของเมืองปะทาคูจาม อันอยู่ทางทิศใต้ของตัวเกาะคนละฝั่งแม่น้ำ หลังจากสถาปนาพระนคร เวียงวังบริบูรณ์ แล้วจึงเสด็จเข้าไปประทับอยู่ยังเมืองใหม่ อันมีนามเต็มว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยาฯ สมัยนั้นภูมิประเทศ ของกรุงศรีอยุะยาบริเวณรอบนอกตัวเกาะเต็มไปด้วยที่ลุ่มแม่น้ำและ ลำคลอง เพราะกรุงศรีอยุธยาเป็น จุดรวมของสายน้ำสำคัญหลายสาย ที่ไหลมาจากทิศเหนือ ตรงหน้าป้อมมหาชัย ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่าหัวรอ เป็นที่ลำน้ำใหญ่มา บรรจบกัน ถึงสามสาย คือลำน้ำป่าสัก ลำน้ำลพบุรี และลำน้ำบางขวด ด้านทิศตะวันออกมีลำคลองใหญ่ มา จาก อำเภออุทัย ทางทิศเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาโอบตัวเกาะใหญ่ ตั้งแต่บ้านแหลม อันเป็นที่เริ่มต้นของ คูเมืองหรือลำน้ำลพบุรีเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแยกออกเป็นสองสาย ตรงวัดจุฬามณี สายหนึ่งผ่านอำเภอบางบาล อีกสายหนึ่งตรงมายังกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า แม่น้ำบ้านป้อม เพราะเหตุนี้จึงมีการขุดคลองลัดเชื่อมระหว่างสองแม่น้ำที่แยกกันนั้น ตรงวัดขนอนเหนืออยุธยาขึ้นไปเล็กน้อยทำให้เกิดเกาะรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า เกาะมหาพราหมณ์ ณ ที่นี้เป็นที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอยุธยา กษัตริย์อยุธยา มักเสด็จ หนีภัย จลาจลภายในเมืองมาประทับอยู่เป็นการชั่วคราว เสมอ เมื่อปราบขบถราบคาบ จึง เสด็จกลับ ชาวอยุธยาโบราณมักวาดมโนภาพพระนครศรีอยุธยาเปรียบกับเรือสำเภาใหญ่ ดังหนังสือแผนที่กรุงศรีอยุธยา แต่งโดยชาวอยุธยาเดิม มีใจความว่า กรุงศรีอยุธยาคือสำเภา มีแม่น้ำล้อมรอบ หัวสำเภา อยู่ทิศบูรพาเรียกว่าขื่อเมือง ลำคูเมืองด้านหน้าจากหัวรอ ผ่านหน้าวังจันทรเกษมไปบรรจบแม่น้ำป่าสัก และไหล ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงวัด พนัญเชิง จึงเรียกว่าลำคูขื่อหน้า ท้ายสำเภาอยู่ทิศตะวันตกดังนี้ พระที่นั่งราชมณเทียรต่างๆ จึงหันหน้าไปสู่หัวสำเภาคือทิศตะวันออกทั้งสิ้น แม้วัดต่างๆ อันสถาปนาขึ้นในสมัยอยุธยา ตอนต้น ก็วางระเบียบ หันหน้า วัดสู่ทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน เช่นวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระ ราม และวัดพุทไธยสวรรค์ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดเก่าแก่ บนตัวเกาะอยุธยา ซึ่งเป็นวัดมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา มิได้ถือระเบียบนี้ ดังเช่นวัดธรรมิกราช พระวิหารใหญ่เดิมคงหันไปทางทิศตะวันตกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ดัวยมีพระเจดีย์ใหญ่สิงห์ล้อม อยู่ท้ายวิหารหันสู่ทิศตะวันออก มาภายหลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เปลื่ยนพระวิหารหันสู่ ทิศตะวันออก จึงกลายเป็นพระเจดีย์ใหญ่อยู่หน้าพระวิหารผิดหลัก สถาปัตยากรรมในยุคนั้น วัดโลกยสุธาอีกแห่งหนึ่ง พระวิหารใหญ่ตั้งขวางตัวเกาะอยุธยา ด้วยเป็นวัดที่สร้างขึ้น ในสมัย อโยธยาตอนปลาย วัดราชประดิษฐ์เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา ใบเสมา เป็นรุ่นอโยธยาสมัยกลาง พระอุโบสถหันออกสู่ ทิศเหนือคือสายน้ำลพบุรีเดิม ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า คูเมือง วัดหน้าพระเมรุ มีประวัติในพระราชพงศาวดารเหนือ ว่าสร้าง ก่อนกรุง ศรีอยุธยาก็หันหน้าออกสู่สายน้ำลพบุรีเดิมทางด้านทิศใต้ วัดเหล่านี้เป็นวัดโบราณที่มีมา ก่อนกรุงศรีอยุธยา จึงไม่อยู่ในระบบแผนผังวัดของสมัยอยุธยาตอนต้น ล้วนนิยมสร้างพระ ปรางค์เป็นหลักของวัด เว้นแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์วัดเดียว ซึ่งหันมานิยมฟื้นกลับ เปรียบ เป็นเจดีย์กลมแบบลังกา แต่ทรวดทรงก็ผิดกับสมัยอโยธยาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนวัดเก่า สมัย อโยธยา มักทำเจดียฺกลมแบบลังกามีสิงห์ล้อม อันเป็นศิลปะการก่อสร้าง สมัยอโยธยา ตอน ปลาย หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นเจดีย์แบบ อโยธยาตอนต้น ซึ่งปรากฏเห็นได้ทั่วไป แถบนอก ตัวเกาะอยุธยา เช่นวัดโคกช้าง วัดหน้าพระเมรุ วัดจงกลม วัดกระช้าย และวัดอโยธยา เป็นต้น...
     พระเจ้าอู่ทองซึ่งเสด็จมาจากทางเหนือได้นำเอาระบบการสร้างปรางค์หลักของวัด จากละโว้ลงมาด้วย ที่จริงคติการสร้างปรางค์เป็นหลักของวัด ซึ่งมีแผนผังพิเศษ คือพระ ปรางค์หันสู่ทิศตะวันออก มีซุ้มปรางค์ด้านหน้าและมี บันไดทอดขึ้นองค์ปรางค์ คติเช่นนี้ได้นิยมสร้างกันมากสมัยอู่ทองและลพบุรี และมักนิยมสร้าง เฉพาะวัดสำคัญ อัน เป็นหลัก ของนคร ดังปรากฏที่วัดมหาธาตุและวัดอรัญญิกราชบุรี วัดมหาธาตุเพชรบุรี วัดมหาธาตุสุพรรณบุรี วัดมหาธาตุลพบุรี และวัดมหาธาตุอยุธยา เป็นต้น
     เข้าใจว่าคติ เช่นนี้ เป็นการนิยมฟื้นกลับเข้าสู่ศิลปะลพบุรีสมัยต้น โดยทำขึ้นสมัยอโยธยาตอนปลาย อันเป็น เหตุให้อยุธยารับช่างมาอีกต่อหนึ่ง การฟื้นกลับของศิลปะเป็นเรื่องราวน่าศึกษาอย่างยิ่ง ด้วยปรากฏอยู่บ่อยๆ ว่าศิลปะใดที่สู่จุดอิ่มตัวแล้ว ก็มักจะมีการฟื้นกลับไป สู่สมัยโบราณ อันรุ่งเรืองเสียที ศิลปะไม่ว่าของชาติใด
     ภาษาใดจะมีวิวัฒนาการเป็นแบบนี้เสมอ ดังเช่น ศิลปะเนโอคลาสสิก เป็นการฟื้นกลับของศิลปะไปสู่สมัยของกรีกและโรมอันรุ่งโรจน์ แต่อดีตสมัยของไทย เราจะเห็นได้ชัดในงานสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งนิยมสร้าง พระเจดียฺกลมแบบกรุงเก่าแทนที่จะทำแต่เจดีย์เหลี่ยมอันนิยมกันในยุคนั้น เจดีย์กลม รัชกาลที่ ๔ จึงเป็น การฟื้นกลับของศิลปะอยุธยาโดยตรง ในสมัยโบราณนับ ตั้งแต่กรุง ศรีอยุธยาขึ้นไปมักนิยมสร้างสถูปเจดีย์เป็นหลักของพระอาราม ถือว่าเป็นเครื่องหมาย แทน องค์ พระพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วยในบางแห่ง สถูปแบบเก่า แก่ ของ พระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ที่สัญจิ ในอินเดียรูปโอคว่ำมีบัลลังก์ และฉัตรข้างบนำฐาน ประทักษิณโดยรอบ รูปสัณฐานเป็นสถูปทรงกลม สถูปรุ่นแรกนี้สร้างขึ้น ในสมัยพระเจ้า อโศกมหาราชทำขึ้นในสมัยที่ยังไม่ได้มีคติทำพระพุทธรูปขึ้นบูชา แทนพระพุทธเจ้า ต่อมา เมื่อสร้างวิหารมัก นิยมทำสถูปขนาดเล็กไว้ในวิหารเป็นสัญลักษณ์เคารพบูชา ครั้นเมื่อ มีคติการสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้ว จึงนิยมตั้ง พระพุทธรูปไว้เบื้องหน้าพระสถูป ดังเช่น วิหารในถ้ำอะขันตะ ทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าสมัยคุปตะขนาดใหญ่โตมีสถูปอยู่เบื้องหลัง สมัย หลังสถูปได้กลายรูปเป็นเรือนแก้ว
     แต่อีกแบบหนึ่งผันแปรไปคือเอาสถูปออกไว้นอกวิหาร แล้วประดิษฐาน พระพุทธรูปไว้ในวิหารแต่อย่างเดียว จึงเกิดประเพณีนิยมกันว่า ต้องสร้าง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปไว้เบื้องหน้า พระสถูปเสมอ คตินี้คงนิยมทั่วไป ทุกหนแห่ง ในดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนา แม้ในแหลมทองของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัย ทวาราวดี คงนิยมทำตามๆกันมา สถูปสมัยทวาราวดีมักมีฐานสี่เหลี่ยมใหญ่ และมีสถูป ทรง กลมอยู่เบื้องบน ต่อมาสมัยทวาราวดีตอนปลาย และสมัยลพบุรีกับอู่ทอง สถูปแปรรูปไป เป็น สถูปมหายานทรงสูง ดังเช่นสถูปแบบละโว้เป็นต้น สถูปแบบนี้ปรากฏ อยู่บนพระพิมพ์รุ่นเก่าสมัยทวาราวดีตอนปลาย ซึ่งเห็นรูปทรงได้ชัดเจน สมัยอู่ทองก็ดี หรือสมัยอโยธยาก็ดี สถูป อันเป็นหลักของพระอารามมักเป็นสถูปทรงสูง ต่อมาสมัยอู่ทองตอนปลายได้เกิด สถูปอีก แบบหนึ่ง คือสถูปทรงกรมตั้งอยู่บนฐานปัทมสี่เหลี่ยม ยิ่งสมัยปลายลงมาก็ยิ่งมี การย่อมุม พิศดารขึ้น ดังสถูปสมัย อู่ทอง ที่วัดมหาธาตุชัยนาท และสถูปใหญ่วัดกุฏิดาวเป็นต้น
     สถูปหรือเจดีย์ทรงสูงแบบละโว้ ยังคงนิยมอยู่ควบคู่กับสถูปแบบตั้งบนฐานปัทม ดัง ปรากฏ ว่าสถูปหลักของวัดสมัยอโยธยา ตอนปลายในอยุธยาที่วัดจงกลม วัดกระซ้าย วัดนางคำ ล้วน เป็นสถูป ๘ เหลี่ยม ระฆังกลมแบบละโว้ทั้งสิ้น การนิยมทำเจดีย์หลักของวัดให้เป็นปรางค์ เลียนแบบเทวสถานของขอม เข้าใจว่าพึ่งจะเริ่มนิยมทำขึ้นในสมัยพระเจ้า จันทประโชติ กษัตริย์แห่งอโยธยาผู้สถาปนาพระปรางค์มหาธาตุแห่งเมืองลพบุรีขึ้น แต่เจดีย์รายรอบองค์ มหาธาตุ ก็คงยังเป็นเจดีย์ทรงสูง แบบละโว้ผสมอู่ทอง อันเป็นแบบดั้งเดิม ที่เคยนิยมกัน มาก่อนนั่นเอง เจดีย์เหล่านั้นก่ออิฐโดยไม่ใช้ปูนสอ นับว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในยุคสมัยร่วม กับศิลปะศรีวิชัยจัดว่าเป็นโบราณสถานอันเก่าแก๋ มาก
     ส่วนองค์ปรางค์ ใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลง กับหินทรายประกอบบางแห่ง ทั้งนี้ก็ทำตามคติจะเลียนศิลปะขอม จึงต้องใช้วัสดุแบบขอม ซึ่งชวนให้น่าจะสันนิษฐานไปได้สองประการคือ ประการแรกอาจจะมีสถูปเก่าแก่ แบบละโว้ ที่วัดมหาธาตุมาก่อนด้วยมี ประจักษ์พยานองค์สถูป บริวารล้อมรอบรุ่นเก่า ปรากฏอยู่หลาย องค์ ต่อมาสถูปใหญ่ซึ่งคงจะมีอายุมาก เกิดพังทลาย ลงเหลือกำลังจะปฏิสังชรณ์ให้คืนดีได้ จึงสร้างขึ้นใหม่เป็นปรางค์ โดยยังคงรักษาสถูปบริวารของเดิมไว้ ประการที่สอง ก็คงเป็น ไปตาม ที่ได้สันนิษฐานไว้แต่ต้นว่า เป็นการฟื้นกลับไปนิยมสร้างปรางคฺ์ ให้สังเกตว่าลวดลาย ที่องค์ปรางค์เลียนแบบลายของขอม ในขณะเดียวกับตัวลาย ที่สถูปเจดีย์บริวารคง เป็นลาย ในเครือ อโยธยาสุพรรณภูมิ โดยชัดแจ้ง นับตั้งแต่การฟื้นกลับมานิยม สร้างปรางค ์ในสมัย อโยธยาตอนปลายแล้วก็คงจะสร้าง ปรางค์ เป็นหลักของ วัดสำคัญ ประจำบ้านเมือง และ นิยมสืบทอดมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น
     ล่วงมาถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ความนิยม สร้าง ปรางค์ หายไป กลับมานิยมสร้างสถูปกลมเช่นเดิม ดังปรากฏที่วัดศรีสรรเพชญ์ ซึ่งสถาปนา ขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นปฐมสถูปกลมสมัยอยุธยา คงปรากฏให้เห็นในสถานที่ หลายแห่งเช่น วัดวงฆ้อน วัดสุวรรณาวาส วัดขุนแสน วัดศาลาปูน วัดธรรมาราม และวัดใน ตัวเกาะอยุธยาอีกหลายวัด ครั้นมาถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองกลับนิยมสร้างปรางค์ขึ้นอีกให้เป็น หลักของวัด ดัง ปรากฏที่วัดไชยวัฒนาราม นั้น ด้วยเป็นพระราชนิยมของพระองค์ จะเลียนศิลปะขอม ถึงแก่ส่งนายช่าง ไปถ่ายแบบมาจากกรุงกัมพูชาทีเดียว แต่วัดอีกหลายวัดซึ่งสร้างขึ้น ใน รัชกาลของพระองค์กลับสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม๑๒ เป็นหลักของวัด อันเป็นความนิยม ของยุคนั้น ดังเช่น วัดชุมพลนิกายารามที่บางปะอิน และ วัดใหม่ประชุมพล ที่นครหลวง เป็นต้น สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น อันประกอบด้วยพระวิหาร พระอุโบสถ สถูป เจดีย์ใหญ่น้อยได้ปรากฏร่องรอย การเอาแบบอย่างศิลปะจากอโยธยามาใช้หลายอย่างเช่น พระวิหารสร้างขนาดใหญ่อยู่เบี้องหน้าพระองค์ปราลค์ มีพระระเบียงคร่อมตรงปีกท้ายวิหาร ซึ่งเป็นพระระเบียงล้อมพระ ปรางค์ใหญ่หลังวิหาร คติการสร้างพระวิหารพระปรางค์ คาม แผนผังดังว่านี้ปรากฏเห็นเด่นชัดตามวัดต่างๆ อันสร้างขึ้นในสมัยนั้นเช่นวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดพุทไธสวรรต์ และ วัดเชิงท่า สำหรับพระอุโบสถแยกไปอยู่ เป็น ส่วนสัดต่างหาก และมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร
     ที่กล่าวว่า สมัยอยุธยาตอนต้น สืบช่วง ศิลปกรรมมาจากอโยธยานั้น มีข้อสังเกตที่องค์สถูปเจดีย์บริวาร ซึ่งอยู่รอบพระ ปรางค์ใหญ่ วัดมหาธาตุล้วนเป็นสถูปและปรางค์เลียนแบบมาจากเจดีย์สมัยอโยธยาทั้งสิ้น แต่ทรวด ทรง เพี้ยนไปเล็กน้อย คือแทนที่ลักษณะจะสูงชะรูดกว่าเดิมช่างอยุธยาตอนต้นกลับทำทรงป้อมๆ ทะมัดทะแมงขึ้นกว่าเดิม สมกับเป็นยุคทหาร ด้วย ยุคนี้อยุธยามีแสนยานุภาพอันเกรียงไกร สามารถส่งกองทัพไปปราบเขมรและเชียงใหม่จนราบคาบ ยังมีข้อสังเกตอีกที่เจดีย์ทิศ บน มุมของฐานพระปรางค์ใหญ่ เป็นเจดีย์ที่นำแบบอย่างสมัยอโยธยาตอนปลายมาใช้ ลวดลาย ประดับเจดีย์บริวารของปรางค์ใหญ่วัดมหาธาตุ ซึ่งเคยถูกพอกทับโดยช่าง อยุธยาตอนปลาย ต่อมาส่วนที่พอก กระเทาะออก จึงเห็นการตกแต่งลวดลาย อันจุกจิกตามบัวลวดบัว และ สิ่ง ต่างๆ ซึ่งเลียนแบบมาจากสมัยอโยธยา ลายสมัยอยุธยาตอนต้น ปรากฏโฉมหน้าที่ลายสลัก ศิลา รอบฐานชุกชีในพระวิหารใหญ่หน้าปรางค์วัดมหาธาตุ ลักษณะตัว ลายเป็นชมวดเถาไม้ ดอกไม้ และใบไม้ มีกลีบบัว เริ่มประดิษฐ์ลายประจำยาม อันเป็นลายหน้ากระดานขึ้นแล้ว โดยเลียนแบบจากสมัยอโยธยาหรืออาจเป็นของที่มีมาก่อนอยุธยาก็ได้
     ลักษญะลาย ยังคง เป็นเครือเถาตามธรรมชาติอยู่ ยังไม่ถือว่าเป็นลายกนก ฐานพระพุทธรูปศิลาที่หน้าวัด มงคลบพิตร เข้าใจว่าจะเป็นของวัดชีเชียงเดิม ลายแบบแข้งสิงห์ ประดิษฐ์เครือเถาม้วนตัว เลียนแบบลายสมัยอโยธยาตอนปลาย ซึ่งลักษณะลายแบบนี้ สมัยอยุธยาตอนต้น นิยมทำกัน มาก ปรากฏที่ฐานพระในวิหารราย วัดพระศรีสรรเพชรญ์ ด้านทิศใต้ ตัวลายคล้าย กับฐาน พระศิลาดังกล่าวแล้ว ลายปูนปั้นที่องค์ปรางค์วัดราชบูรณะ เป็นลายอันนิยมทำตามแบบ คติ ของโบราณ แต่ก็แฝงลายอยุธยาตอนต้นไว้หลายแห่ง ดังเช่น ลายทางด้านทิศเหนือ ของ องค์ปรางค์ เป็นลายสมัยอยุธยาตอนต้นแท้ๆ สำหรับลายปูบปั้นสมัยอยุธยาตอนต้นที่งดงาม นั้น ยังปรากฏบริบูรณ์อยู่ที่วัดส้ม ซึ่งเป็นวัดขนาดย่อมมีปรางค์เล็กเป็นหลักของวัด ลาย ประดับปรางค์ละเดียดประณีต มีการใช้ ลายเฟือง ลายหน้ากระดานอันพลิกแพลง แปลกตา กว่าที่อื่น ทั้งลายประดับกลีบขนุน ซุ้มเรือนแก้วที่บันแถลงล้วนงดงามมาก วัดส้มนี้ตั้งอยู่หลัง ศาลากลางจังหวัดติดกับคลองท่อ ข้อสันนิษฐานที่ได้กล่าวถึงวัดมหาธาตุ ว่าอาจจะมีสถูป เดิมสมัยทวาราวดีมาก่อน ก็ด้วยพบศิลปะทวาราวดีที่วัดนี้หลายชิ้น
     นอกจากพระพุทธรูป องค์ใหญ่ซึ่งนำไปไว้ที่วิหารเล็กที่วัดหน้าพระเมรุแล้ว ยังมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลา ขนาด ใหญ่ปรากฏอยู่ที่พระวิหาร ใหญ่หน้าองค์ปรางค์ และจากการตรวจสอบโครงสร้าง ของฐาน ชุกชีและผนังเบื้องหลังพระวิหารพบว่า มีการเอาชิ้นศิลาสลักลวดลายบนฐานชุกชึ เก่าแก่ มารวมกับอิฐก่อขยายขึ้นใหม่โดยไม่ทำลายของเก่า ลายเหล่านี้ยังมีข้อน่า สงสัยว่าอาจเป็น ลายที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็เป็นลายสมัยขุนหลวงพะวั่ว อยู่ในสมัยอยุธยา ตอนต้น เมื่อตรวจสอบลวดลายอยุธยาตอนต้น อันปรากฏที่ปรางค์ วัดส้มปรากฏว่าเป็นลาย คนละสกุล เพราะลายที่ชุกชีศิลาเก่าแก่กว่าวัดส้มมากนัก แต่เมื่อนำลายของวัดส้ม ไปเทียบ กับลาย ที่ปรางค์ข้างพระอุโบสถซึ่งเป็นลายอันถูกพอกปูนทับ และบัดนี้กระเทาะออก ให้เห็น โฉมหน้าลายอยุธยาตอนต้นแท้ๆ ก็พบว่าเป็น ลายประเภทเดียวกัน อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน ดังนี้จึงอนุมานได้ว่าปรางค์บริวารซึ่งอยู่หน้าพระอุโบสถกับลวดลายชั้นในเป็นฝีมือช่างสมัย อยุธยาตอนต้นแท้ๆ ส่วนชิ้นศิลาฐานชุกชึอาจเป็นไปได้สองทางคือ เป็นของมีมาก่อน กรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ทำขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
     การปฏิสังขรณ์วัดโบราณ เราจะ พบอยู่บ่อยๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น ดังเช่น วัดมเหยงค์ ซึ่งประวัติศาสตร์ระบุว่า สร้างก่อน กรุงศรีอยุธยามีหลักฐานศิลปะวัตถุต่างๆ ปรากฏอยู่ แต่แลัวพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ก็กลับบันทึกว่า " ศักราช ๗๘๖ ปีมะโรงฉศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า สร้างวัด มเหยงค์ " พระบรมราชาธิราชก็คือพระเจ้าสามพระยา ซึ่งเข้าใจว่า พระองค์จะ สถาปนา วัดมเหยงค์ขึ้นใหม่ เดิมคงชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง จึงต้องสร้างใหม่ทั้งวัด พร้อมทั้ง ผูก พัทธสีมาขึ้นใหม่ด้วย วัดนี้ต่อมาสมัยพระเจ้าท้ายสระ ปรากฏว่าชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง พระองค์จึงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่หมดทั้งวัด ขณะเดียวกันสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราช วังบวรสถานมงคล ก็ปฏิสังขรณ์วัดกุฏิดาว พร้อมกันเป็นการแข่งฝีมือ ระหว่างวังหลวง กับ วังหน้า
     พระราชพงศาวดารบันทึกเหตุการณ์หลังจาก การปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วว่า "สร้างวัด มเหยงค์สำเร็จแล้ว ทรงพระกรุณาสั่งอัครมหาเสนาบดีให้แต่งการฉลองสมโภชวัดมเหยงค์ " การตีความจากพงศาวดาร จึงเป็นเรื่องที่จะต้องตระหนักให้ดีถึงความหมายของคำที่ใช้ เมื่อกล่าวว่าสร้างวัดต่างๆก็มิได้หมาย ความว่าสร้างใหม่หมดทั้งวัด อาจจะเป็นการ ปฏิสังขรณ์แบบสร้างขึ้นใหม่ก็ได้ดังกรณีของวัดมเหยงค์นี้ และวัดมหาธาตุอาจอยู่ ในข่าย เดียวกัน เพราะเมื่อพิจารณาถึง ข้อความในพงศาวดาร มูลเหตุแห่งการสร้างวัดมหาธาตุมี ดังนี้ ในแผ่นดินของขุนหลวงพะงั่ว "ศักราช๗๓๖ ปีขาลฉศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า พระมหาเถรธรรมกัลญาน แรกสถาปนา พระศรีรัตนมหาธาตุ ฝ่ายบูรพาทิศ หน้าพระบัน ชั้น สิงห์สูง ๑๙ วา ยอดนภศูลสูง ๓ วา" ซึ่งชวนให้คิดว่า ขุนหลวงพะงั่วร่วม กับพระมหา เถร ธรรมกัลญาน สถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ การสร้างหรือปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุคงจะ เป็น พระราชดำริค้างอยู่ ต่อมาในสมัยพระราเมศวรพงศาวดารกล่าวว่า "แล้วเสด็จออกศิลยัง พระที่นั่งมังคลาภิเษก เพลา ๑๐ ทุ่ม ทอดพระเนตรไปโดยฝ่ายทิศบรูพา เห็นพระสารีริกธาตุ ปาฏิหารย์ เรียกปลัดวังให้เอาพระราชยานทรงเสด็จออกไป ให้กรุยปักขึ้นไว้ สถาปนาพระ มหาธาตุนั้นสูง ๑๙ วา ยอดนภศูลสูง ๓ วา แล้วขนานนามให้ชื่อว่า วัดมหาธาตุ " มี ปัญหา เกิดขึ้นว่าวัดพระมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่
     การปรากฏปาฏิหารย์ของ พระบรม สารีริกธาตุนั้นต้องปรากฏ ณ สถานที่พระบรม ธาตุสถิตอยู่ ดังที่รัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี เคยทอดพระเนตรเห็นที่องค์พระปฐมเจดีย์มาก่อน ซึ่งมีบันทึกแจ้งไว้เป็น หลักฐานทั้งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า เดิม คงจะเป็นพระธาตุเก่าแก่รกร้างหักพัง เป็นกองอิฐ เหมือนวัดร้าง ทั่วไป เมื่อพระราเมศวร ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์ จึงต้องกรุยกองอิฐ ปักหลักไว้เป็นที่หมาย แลัวสถาปนาพระธาตุขึ้นตรงนั้น ถ้าเป็นไปด้วยข้อสันนิษฐาน นี้ก็ แสดงว่าเดิมเป็นวัดร้าง มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา อาจจะเก่าแก่ถึงสมัยทวาราวดีด้วยชิ้นศิลา ฐานชุกชี และพระพุทธรูปศิลาขนาดมหึมา พระพักตรแบบทวาราวดี ซึ่งเอาไปไว้ที่วัด หน้าพระเมรุในภายหลัง สิ่งเหล่านี้ล้วน เป็นของเก่าแก่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา ต้องเป็น ศิลปะวัตถุเดิมของวัดร้างนั้น
     ส่วนเรื่องขุนหลวงพะงั่วสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น บางที จะเป็นพระราขดำริและเตรียมการไว้แล้ว แต่ยังไม่ทันสร้าง เพราะสมัยนั้นมีสงคราม แทบ ตลอดรัชกาล คือปีรุ่งขึ้นจากการดำริสร้างวัดมหาธาตุ ก็เสด็จไปตีเมืองพิษณุโลก ปีต่อ มา ก็ไปตี กำแพงเพชร แล้วก็ไปตีเชียงใหม่ ดูเหมือนว่าจะมีพระราชภาระ ในการสงคราม แทบตลอดรัชกาล ยังมีหลักฐานเอกที่ใบเสมาของวัดซึ่งมีอยู่สองใบ ฝีมือคนละรุ่น กล่าวคือ "ใบเสมาวัดมหาธาตุที่ตรวจพบในวัดมหาธาตุ มีอยู่สองชนิดคือใบเสมาขนาดย่อม สูง ๑ เมตร กว้าง ๖๗ ซม หนา ๑๑ ซม ทำด้วยหินสีเขียวเนื้อละเอียด สูง ๑.๑๒ เมตร กว้างตรง ส่วนล่าง ๗๒ ซม หนา ๘ ซม ส่วนล่างทำเป็นลวดบัว คล้ายกับใบเสมา สมัย สุโขทัย ชนิด นี้เท่าที่เหลือมีอยู่ ๒ แผ่น ส่วนชนิดแรกก็มีอยู่สองแผ่นเช่นกัน" เดิมสันนิษฐานว่า ใบหนึ่ง เป็นของขุนหลวงพะงั่ว ส่วนอีกใบหนึ่งเป็นของพระราเมศวร แต่ต่อมาอีกหลายปี ได้มีการ พิจารณาอย่างละเอียดแล้วเห็นว่า รัชกาลที่ห่างกันเพียง ไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่ควรจะ เปลี่ยน โฉม หน้าของใบเสมาได้แตกต่างกันมากนัก เชื่อว่าใบเสมาอันหลัง ซึ่งขนาดใหญ่กว่า เป็น ใบเสมาสมัยอโยธยาตอนปลาย ส่วนใบเสมา อันแรกซึ่งเล็กกว่าต้องเป็นใบเสมาของ พระราเมศวรอย่างแน่นอน บางทีสมัยอโยธยาตอนปลายจะมาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น แบบสร้าง ใหม่ทั้งวัด จึงได้ผูกพัทธสีมาขึ้นใหม่ ส่วนใบเสมารุ่นเก่าสมัยทวาราวดียังไม่พบ ...
     ศิลปะสมัย อยุธยาตอนต้น นอกจากปรากฏที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็ยังมีที่วัดราชบูรณะ กับวัดพระราม อัน เป็นวัดใหญ่ในตัวเกาะ วัดราชบูรณะสถาปนาขึ้นในสมัยพระเจ้าสาม พระยา กษัตริย์ พระองค์นี้ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระอินทราชา ซึ่งมี อำนาจจากอาณาจักร สุพรรณบุรีหนุนหลังอยู่ พระองค์เสด็จไปตีเขมรซึ่งกระด้างกระเดื่องได้กวาดต้อนผู้คน ขน เอาสมบัติต่างๆ และรูปสัมฤทธิ์มามากมายรวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ด้วย รูปสัตว์สัมฤทธิ์ที่ ขนมานั้นเอาไปไว้ยังวัดมหาธาตุ
     และวัดศรีสรรเพชญ์ (เข้าใจว่าจะเป็นวัดโบราณ ข้างพระ ราชวังด้วยวัดพระศรีสรรเพชญ์พึ่งสถาปนาเมื่อสมัย พระรามาธิบดีที่ ๒
     วัดมหาธาตุมี ศิลปะ ซับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย แม้วัดราชบูรณะเองก็คงปฏิสังขรณ์ สมัยอยุธยา ตอน ปลาย ด้วยพระวิหารใหญ่เจาะช่องประตูหน้าต่าง ลายซุ้มประตูเป็นแบบสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ พระอุโบสถวัดราชบูรณะก็คงจะ ปฏิสังขรณ์ใหม่ใน สมัยอยุธยาตอยปลาย เช่น เดียวกัน คงปรากฏศิลปะอยุธยาตอนต้นที่องค์ที่องค์ปรางค์ ซึ่งปรากฏลวดลายปูนปั้น และ พระพุทธรูปประจำซุ้มงดงามมาก พระวิหารใหญ่คงเหลือเค้าเสาใหญ่สองแถว ในพระ อุโบสถเป็นของเดิม และฐานชุกชีข้างในเป็นศิลาส่วนเสาพาไล คงถูกรื้อเสียแล้ว ในสมัย อยุธยาตอนปลาย ลักษณธสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนต้นให้สังเกตที่ซากผนัง พระวิหารใหญ่ วัดมหาธาตุ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเจาะหน้าต่างเป็นช่องลม มีลวดลายบรรจุอยู่ ตาม ช่อง เป็นแบบอย่างอันนำมาจากสมัยอโยธยา สิ่งหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ คือนอกจากจะต้อง ก่อเสา สองแถวซึ่งอาจเป็นเสากลม หรือเสาแปดเหลี่ยมอย่างใดอย่างหนึ่งภายในวิหารแล้ว ยังจะต้อง มีเสารายข้างนอก รับชายคาปีกนกตั้งบนพาไล สามารถเดินประทักษิณได้รอบ พระวิหาร จุดประสงค์คงเพื่อให้ประทักษิณทำ ความเคารพพระประธานข้างในโดยตรง หน้าบันพระวิหารหรือพระอุโบสถไม่นิยมทำลวดลาย แต่จะสลักไม้เป็นรูปเทวดา เช่น พระ นารายณ์ทรงครุฑ มีบริวารเป็นเทวดา หรือ กุมภัณฑ์ล้อมรอบ เบื้องบนเป็นรูปฉัตรหลายชั้น ดังปรากฏที่หน้าบัน วัดหน้าพระเมรุและวัดแม่นางปลื้ม เข้าใจว่าจะเลียนแบบมา จากสมัย อโยธยา การนิยมสลักรูปคนจนเต็มหน้าบัน เช่นนี้ เป็นคติโบราณ แม้หน้าบันศิลา ที่ปราสาท หินพิมายก็นิยมทำรูปคนจนเต็มหน้าบันเช่นกัน สมัยหลังคืออยุธยาตอนกลางจึง เปลี่ยน เป็นลวดลายแท้ๆไม่มีรูปคนเข้าไปปะปนเลย เนื่องจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ต้องมีเสาใหญ่สองแถว รับเครื่องบนหลังคาภายในอาคาร จึงต้องมีเพดานปิดไม่ให้เห็นส่วน หลังคา เพดานนั้นจำหลักไม้เป็นรูปดาว ดอกจอก และลวดลายต่างๆ ดังปรากฏที่ วัด หน้าพระเมรุ วัดกษัตราราม และวัดศาลาปูนเป็นต้น คันทวยสลักไม้สมัยอยุธยาตอนต้น มีปรากฏอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ วัดกษัตราราม วัดศาลาปูน เฉพาะวัดหน้าพระเมรุกับ วัด ศาลาปูน คันทวยทำเป็นหยักลูกคลื่น คล้ายนาคสะดุ้งของขอมใหญ่โตและแข็งแรง งดงาม มาก อาจเป็นศิลปะแบบอโยธยาหรืออยุธยาเลียนแบบมาอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจาก วัด หน้าพระเมรุกับวัดศาลาปูนมีเสาพาไล จึงไม่จำเป็นต้องใช้ทวยด้านข้าง คงมีทวยเฉพาะ เสาหน้า ๒ กับเสาหลัง อีก ๒ เสา เท่านั้น และเนื่องจากเสา อยุธยาตอนต้น มักนิยมทำเสา แปดเหลี่ยม ทวยที่ติดเสาด้านหน้า จึงมีเสาละ ๓ ทวยด้วยกัน แม้วัดศาลาปูนก็เช่นกัน แต่วัดกษัตรารามพระอุโบสถขนาดเล็กมาก ไม่จำเป็นต้องใช้เสาพาไลด้านข้าง จึงต้อง มี ทวยรับปีกนกด้านข้างด้วย ทวยวัดกษัตรารามเป็นทวยรุ่นหลังกว่าวัดหน้าพระเมรุ บางที อาจจะเป็นทวยสมัยอยุธยาตอนต้นแท้ๆ เครื่องบนหลังคาสมัยอยุธยาตอนต้น เข้าใจว่า จะเลียนแบบมาจากสมัยอโยธยาไม่ผิดเพี้ยนกันเท่าไรนัก ปรากฏภาพปูนปั้น ฝาผนังด้าน นอกของวัดไลย์ที่ลพบุรี อันเป็นศิลปะสมัยลพบุรีตอนปลายหรืออโยธยา มีรูปปราสาท และ สถาปัตยกรรม ปรากฏบน ภาพปั้นนูนอยู่หลายแห่ง รูปทรงหลังคาเป็นระบบโบราณ กล่าวคือ มีเสาดั้ง ซึ่งเรียกว่าเสาดั้งแขวนตั้งบนขื่อของอกไก่ มีเสารับปีกยกด้านข้าง ส่วนรูปเสา กับ หัวเสาเป็นศิลปะแบบลพบุรี ดังปรากฏที่เสาประดับซุ้มปรางค์ วัดมหาธาตุลพบุรี มิใช่ เสา กลมหรือแปดเหลี่ยม ซึ่งมีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบบัวตูมเหมือนสมัยอยุธยาตอนต้น ภาพ ปูนปั้นฝาผนังวัดไลย์ นอกจากจะแสดงรูปเสาสมัยลพบุรีตอนปลายหรืออโยธยาให้ปรากฏแล้ว บางรูปยังปรากฏ เห็นเสาสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นเสาระบบเก่าแก่ ปรากฏที่ห้องวิหารเล็กด้านหน้า ของวัดไลย์เอง และปรากฏที่เสาซุ้มเจดีย์เหลี่ยม วัดกู่กุฏิ หรือวัดจามเทวี ที่ลำพูน อันเป็น ศิลปะแบบลพบุรีตอนต้น และยังปรากฏที่เสาสมัยทวาราวดีอีกด้วย
     ยอดปราสาทสมัย ลพบุรี ตอนปลาย หรืออโยธยาซึ่งสองสมัยนี้ศิลปะเป็นแบบอย่างอัน เดียวกัน อันปรากฏ รูปโฉม บนภาพ สลักนูนวิหาร วัดไลย์ เป็นยอดหลังคาซ้อนกันห้าชั้น มีเสาดั้งตั้งบนปีกของ หลังคา ชั้นล่าง และมีหน้าบันลดหลั่นกันส่วนยอด ปราสาทไม่แหลมเหมือนสมัยหลัง ทรวดทรง ยอดปราสาทแบบนี้เป็นระบบเก่าแก่ของสถาปัตยกรรมไทยโบราณซึ่งผิดกับยอด ปราสาท รุ่นหลังอย่างมาก ยอดปราสาทแบบนี้ยังปรากฏให ้เห็นอยู่ตามศิลปะ ทางแถบลานนา รุ่น โบราณ เช่น ปราสาทเล็กทำด้วย โลหะรอบพระธาตุหริภุญไชย เป็นปราสาทแบบ เก่าแก่ เหมือนในรูปปูนปั้นนูนวัดไลย์ไม่ผิดเพี้ยนซึ่งแสดงให้เห็นว่า วัดไลย์ ต้องเป็นวัด เก่าแก่ ประมาณอโยธยาตอนกลาง ซึ่งจะตรงกับสมัยลพบุรีตอนปลาย สถาปัตยกรรมสมัย อยุธยา ตอนต้น ที่วัดพุทไธสวรรย์ซึ่งสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ให้สังเกตว่าวัดนี้แม้จะอยู่ริม แม่น้ำ เจ้าพระยา แต่ก็ถือระเบียบใหม่คือ หันหน้าวัดไปสู่ทิศตะวันออกขนานกับลำน้ำ แทนที่จะ หันออกลำน้ำตามระบบวัดโบราณสมัยอโยธยา ทั่วไป คตินี้เป็นคตินำมาจากทางเหนือ ดังนี้การจะกำหนดว่าวัดใดอยู่ในข่ายสงสัยว่าเป็นวัดสมัยอยุธยา หรืออโยธยากันแน่ก็ ให้ดู การถือระเบียบทิศตะวันออก กับหันสู่สายน้ำเป็นสำคัญ
     วัดสมัยอโยธยา เช่นวัดหน้าพระเมรุ อยู่ติดลำน้ำ หันหน้าสู่สายน้ำ ทางทิศใต้วัดโปรดสัตว์อยู่ริมน้ำหันหน้าสู่ลำน้ำทิศตะวันตก ส่วนวัดสมัยอยุธยาตอนต้นจะหันหน้าสู่ทิศตะวันออกตามตัวเสมอ ทั้งนี้เนื่องจาก พระเจ้าอู่ทอง ทรงวางผังเมืองใหม่ กำหนดให้ ด้านลำคูขื่อเมือง เป็นหน้าบ้านหรือ หน้า เมืองศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ดังนี้ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังหรือวัดวาอาราม ใน สมัยอยุธยาตอนต้น จะเบนหน้าสู่ทิศหัวสำเภาของนาวาอยุธยาทางทิศตะวันออกทั้งสิ้น จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ปรากฏที่ในห้องปรางค์ทิศวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เขียน ด้วยสีเขม่าดำและดินแดงกับสีขาว เป็นพระพุทธเจ้านั่งสมาธิและปางมารวิชัยเรียงเป็นต้น ซ้อนเป็นชั้นๆ คล้ายระบบภาพเขียนของอียิปต์โบราณ คตินี้เลียนแบบ มาจาก จิตรกรรม สมัยอโยธยา
     จิตรกรรมสมัยอโยธยาปรากฏภายในห้องปรางค์เล็ก วัดมหาธาตุลพบุรี ห้องปรางค์วัดมหาธาตุราชบุรี ซึ่งเขียนด้วยกรรมวิธีเดียวกับอยุธยาตอนต้น จนมีผู้เข้า ใจผิด ว่าเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา แท้จริงเป็นฝีมือช่างก่อนกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น ดังปรากฏรูปทรง ของพระรัศมีเป็นรูปวงรี และพระพ้กตร์ของพระพุทธรูปในภาพเขียนที่ราชบุรีบางรูป เป็นสี่เหลี่ยมแบบสมัยอู่ทอง บางรูปหน้ากลมยาวรีแบบลพบุรีตอนปลาย เพราะการไม่ พิจารณาอย่างรอบคอบเรื่องพระพุทธรูปพระพักตร์รูปไข่ จึงมีการเข้าใจผิดว่า เป็นสมัย อยุธยา ซึ่งที่ถูกต้องเป้นสมัยลพบุรีตอนปลาย พระพุทธรูปแบบนี้จะปรากฏเห็นได้ทั่วไป ตามพระศิลาสมัยลพบุรีตอนปลายที่ราชบุรี แม้ในสมัยอยุธยาเองก็ตาม เรือนแก้วใน ภาพ เขียนห้องปรางค์ทิศของวัดมหาธาตุเป็นรูปยอดแหลม ส่วนเรือนแก้วที่ราชบุรีกับลพบุรี รูปปั้นส่วนละเอียดลายตกแต่งก็แตกต่างกันไป จากการศึกษาภาพเขียนเหล่านี้ ทำให้เรา ได้ความรู้ว่าศิลปะอยุธยาตอนต้นนั้น แท้ที่จริงก็คือสายวิวัฒนาการ มาจากศิลปะ อโยธยา โดยตรง มิได้เป็นการเริ่มต้นใหม่แต่ประการใด การเริ่มต้นศิลปะของ อยุธยา อาจจะ เป็น เพียงการเริ่มคติความคิดบางอย่าง หรือการริเริ่มแบบอย่างของศิลปะบางรูป ซึ่งเมื่อเริ่มแล้ว ก็ผันแปรไป แต่รากเง่าของศิลปะคือ ความคิดดั้งเดิม ความบันดาลใจต่างๆ ย่อมจะหนีไม่ พ้นจากครูเดิม คือ ศิลปะอโยธยาไปได้ ดังได้กล่าวถึงการเริ่มต้น ของรูปแบบศิลปะ สมัย อยุธยาบางอย่าง มีสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ปรางค์ เมื่อเริ่มต้นก็เทอะทะดังปรางค์ อยุธยาตอนต้น ทั่วไป แต่พอถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ปรางค์ก็สะโอดสะองมากขึ้น ดังปรากฏอยู่ตามปรางค์ เล็กสมัยหลัง พระเจดีย์แบบลังกา เริ่มต้นที่วัดศรีสรรเพชญ์ เลียนแบบมาจากเจดีย์ลังกา ของอโยธยา ต่อมาก็ต่อเติมฐานสูงเข้ารูปทรงเพรียว เป็นจอมแห เหลือระฆังเล็กนิด เดียว จนคนบางพวกเห็นรูปร่างไปคล้ายกับเจดีย์สมัยลพบุรี ก็เหมาเอาว่าเจดีย์ลพบุรี เป็น อยุธยาตอนปลายไปเสียเลย ที่จริงมีข้อสังเกตเห็นได้ง่ายนิดเดียว กล่าวคือรูปทรง เจดีย์ ลพบุรี หรืออโยธยาจะเป็น รูปเส้นตั้ง แม้ระฆังด้านข้างก็เป็นรูปเส้นตั้ง ส่วนเจดีย์สมัย อยุธยาตอนปลาย รูปทรงเป็นรูปจอมแห ตัวระฆังก็ผายออก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างอัน ฉกรรจ์ มาก ใบเสมาสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มด้วยหินชนวนใหญ่สูงเมตรเศษ หนามาก เอาอย่างมา จากสุโขทัย และเสมาหินยานลังกา ของอโยธยาตอนปลาย สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่มีลวด ลายอะไรเลย แต่สมัยต่อมาใบเสมาหินชนวนเหมือนกันแต่เล็กลงมา กล่าวได้ว่าเล็กและ บางลงกว่าเดิมเท่าตัวและเอวเสมาคอดเข้า พอล่วงมาสมัยอยุธยาตอน ปลายก็เปลี่ยน มา ใช้หินทรายขาว ใบเสมาเล็กลงไปอีก เอวก็คอดเข้า มีลวดลายวิจิตรพิศดาร จนเปลี่ยน ใบ เสมานั่งแท่น ยิ่งปลายเข้าก็ยิ่งลวดลายพิศดาร พันลึกมากขึ้น ดังนี้เป็นต้นวิวัฒนาการนี้จะได้ กล่าวต่อไปในตอน ศิลปะอยุธยาตอนปลาย จึงสรปได้ว่า ศิลปะอยุธยาตอนต้นจึง เป็นการ เริ่มต้น ขณะเดียวกันก็รับหน้าที่สืบช่วงวืวัฒนาการศิลปะจากสมัยอโยธยามาด้วย



<<กลับไปสู่บทความหน้าแรก | ไปลุยต่อกันอีกหน้ากับ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง >>
การแต่งกายสมัยอยุธยา | ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา